ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 คุณพระชำนิ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนบริเวณที่มีแม่น้ำ ลำมาศ ลำนางรอง และลำปะเทียไหลผ่าน ปัจจุบัน คือ บ้านชำนิ หมู่ที่ 4 ตำบลชำนิ จากนั้น ได้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งเรียกว่า "หลวงพ่อชำนิจ " เพื่อเป็นศิริมงคล รวมทั้งเป็นที่สักการะบูชาของราษฎรในพื้นที่ ซึ่งในอดีตราษฎรจะมีการจัดงานนมัสการหลวงพ่อชำนิจขึ้นในห้วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ ปิดทองและสรงน้ำหลวงพ่อชำนิจเป็นประจำทุกๆปี
พ.ศ.2539 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะพื้นที่ตำบลชำนิ ตำบลหนองปล่อง ตำบลหนองยาง ตำบลช่อผกา ตำบลละลวด และตำบลโคกสนวน จัดตั้งเป็นอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้ดำเนินการจัดสร้างองค์หลวงพ่อชำนิจจำลองขึ้น และมีการแจกจ่ายให้แก่ตำบลต่างๆ ไว้สักการะบูชาและได้กำหนดคำขวัญของอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ว่า " เมืองสามลำห้วย" มากด้วยปลาเค้า ข้าวขาวมะลิ หลวงพ่อชำนิจศักดิ์สิทธิ์ "
พ.ศ.2543 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ (ฯพณฯ เนวิน ชิดชอบ, นางกรุณา ชิดชอบ, นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล) พร้อมด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ (นายสนอง เทพอักษรณรงค์) ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ่อค้า ประชาชน ได้ริเริ่มให้มีการจัดงาน " นมัสการหลวงพ่อชำนิจ " ซึ่งให้เป็นงานประจำปีของอำเภอชำนิ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี และให้มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การปิดทองและสรงน้ำ รวมทั้งมีขบวนแห่องค์หลวงพ่อชำนิจจำลองของตำบลต่างๆ การถวายผ้าป่าสามัคคี การรดน้ำและมอบของที่ระลึกแก่ผู้สูงอายุและมีมหรสพสมโภชต่างๆ
เนื้อที่/พื้นที่ : 242 ตร.กม.
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป : แบบมรสุมมี 3 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
ข้อมูลการปกครอง : ตำบล......6......แห่ง หมู่บ้าน......63......แห่ง เทศบาล.....2....แห่ง อบต.......4...... แห่ง
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ : 1.อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ปลูกข้าวนาปี
2.อาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงสัตว์3.จำนวนธนาคาร มี 1 แห่ง ได้แก่ ธกส.สาขาอำเภอชำนิ
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 2 แห่ง
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
ด้านทรัพยากรดิน
สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อย ขาดการปรับปรุงดิน ประกอบกับ
พื้นที่เป็นที่ลาดสูงจากไต้ไปเหนือ การชะล้างหน้าดินจากน้ำฝนมี
ปริมาณมาก จึงทำให้ดินมีคุณภาพต่ำ
ด้านทรัพยากรน้ำ
มีแหล่งน้ำสำคัญ ไหลผ่าน 3 สาย คือ ลำมาศ ลำนางรอง และลำประเทีย
ด้านทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ป่าชุมชนโคกกระเบื้อง ตำบลช่อผกา เป็น
ป่าไม้เต็งรังเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นเป็นป่าเสื่อมโทรม ราษฏรบุกรุกพื้นที่
ป่าเพื่ออาศัยเป็นที่ทำกิน
ด้านประชากร
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 33,720 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 16,793 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 16,927 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 140 คน/ตร.กม.
ด้านการคมนาคม : ทางบก-รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 อำเภอนางรอง
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ 1. ข้าว 2. มันสำปะหลัง 3. มะพร้าว
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ(แม่น้ำ/บึง/คลอง) ได้แก่ 1. ลำมาศ 2. ลำนางรอง 3. ลำปะเทีย
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานผลิตกระเป๋า ที่ตั้ง-บริษัทนารายา ที่ตั้ง ม.1 ต.ละลวด อ.ชำนิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น